หลวงพ่อสุ่น ถือได้ว่าเป็นต้นตำนานการสร้าง หนุมาน ที่ทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ มีอานุภาพคุ้มครองป้องกันภัย เมตตามหานิยม ปรากฏเเก่ผู้ที่ครอบครองบูชา หลวงพ่อสุ่น จันทโชติ วัดศาลากุน คือพระเกจิชื่อดังมีวิทยาอาคมผู้เข้มขลังของจังหวัดนนทบุรี ซึ่งน้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก โดยเฉพาะบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่อง เหรียญคณาจารย์ และเครื่องรางรุ่นเก่าๆ เพราะหลวงพ่อสุ่น ถือได้ว่าเป็นต้นตำนานการสร้าง "หนุมาน" ที่ทรงไว้ซึ่งประสบการณ์ปรากฏเเก่ผู้ที่ครอบครองบูชา และ "หนุมานแกะหลวงพ่อสุ่น วัดศาลากุน" นั้น นับเป็นเครื่องรางของขลังที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมสะสมไม่แพ้ "มีดหมอหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ" และ "เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย" ซึ่งเป็นที่เลื่องลือและได้รับความนิยมอย่างสูงในวงการทีเดียว จนถูกจัดให้เป็น 1 ใน เบญจภาคีเครื่องรางของขลัง
หลวงพ่อสุ่น หรือ พระอธิการสุ่น เป็นชาวนนทบุรีโดยกำเนิด เกิดไม่ไกลจากวัดศาลากุนนัก แต่ไม่ได้มีการบันทึกประวัติของท่านเก็บไว้ ทราบเพียงเมื่ออุปสมบทแล้วท่านก็จำพรรษาอยู่ที่วัดศาลากุน และด้วยศีลาจารวัตรของท่านทำให้เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านมาตั้งแต่พรรษา ต้นๆ ที่ยังเป็นพระลูกวัดอยู่ เมื่อเจ้าอาวาสมรณภาพ ชาวบ้านจึงนิมนต์ให้ท่านรับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อ ท่านก็ได้พัฒนาและบูรณปฏิสังขรณ์วัดจนเจริญรุ่งเรืองสืบมา หลวงพ่อสุ่นมรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2482
ย้อนไปเมื่อครั้งที่ หลวงพ่อสุ่นยังเป็นพระลูกวัด ท่านได้ปลูกต้นไม้ไว้ในบริเวณกุฏิ 2 ชนิด คือ ต้นรักและต้นพุดซ้อน และหมั่นดูแลรดน้ำ โดยนำน้ำสะอาดมาทำเป็นน้ำมนต์เพื่อรดต้นไม้ทั้งสองทุกครั้งจนเจริญเติบโต กระทั่ง เมื่อท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส จึงเข้าใจกระจ่างว่า เหตุใดท่านจึงให้ความสนใจดูแลต้นไม้ทั้งสองนี้เป็นพิเศษ เมื่อต้นไม้เจริญเติบโตได้ที่ ท่านจึงดูฤกษ์ยามทำพิธีพลีและสังเวยก่อนแล้วลงมือขุดด้วยตัวเอง จากนั้นนำไปตากแดดจนแห้ง แล้วให้ช่างแกะเป็น "รูปหนุมาน" จนหมด รวบรวมห่อด้วยผ้าขาวใส่บาตรเพื่อปลุกเสกในกุฏิ โดยไม่มีผู้ใดทราบว่าท่านทำพิธีการใด
จนถึงวันเสาร์ซึ่งถือ ว่าเป็นวันแรง ท่านก็จะนำเข้าไปทำพิธีบวงสรวงบัดพลีและปลุกเสกในอุโบสถเพียงรูปเดียว โดยปิดประตูและหน้าต่างทั้งหมด มีเวรยามเฝ้าไม่ให้ใครรบกวน ดังนี้เป็นประจำทุกวันเสาร์ จนครบถ้วนกระบวนการตามกำหนดของท่าน จึงเก็บไว้แจกจ่ายบรรดาลูกศิษย์ลูกหาและผู้ถวายปัจจัยในการบูรณปฏิสังขรณ์ วัด นอกจากหนุมานแกะที่ทำจากต้นรักและต้นพุดซ้อนแล้ว หลวงพ่อสุ่นยังได้แกะหนุมานจาก "งาช้าง" ด้วย แต่สร้างในรุ่นหลัง ไม่ค่อยได้พบเห็นกันนัก และสนนราคาค่อนข้างสูงมาก
หนุมานหลวงพ่อสุ่น แบ่งแยกได้เป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์หน้าโขนและพิมพ์หน้ากระบี่ พิมพ์หน้าโขน เป็นฝีมือการแกะอันวิจิตรของช่างแกะ ที่จะเก็บรายละเอียดต่างๆ อย่างครบถ้วน ทำให้มีความสวยงามและแลดูเข้มขลังยิ่งนัก
พิมพ์หน้ากระบี่ เป็นแบบเรียบง่าย ไม่ค่อยมีเครื่องเครามากมาย แต่ก็ยังคงความงามในอีกรูปแบบหนึ่ง และแลดูเข้มขลังเช่นกัน ด้วยความชำนาญของช่างแกะ ณ ปัจจุบัน หนุมานแกะหลวงพ่อสุ่น หาดูหาเช่ายากมากทุกเนื้อทุกพิมพ์ ด้วยผู้ที่มีไว้ต่างหวงแหน อีกทั้งสนนราคาสูงเอาการทีเดียว
นอก จากนี้ยังมีการทำเทียมเลียนแบบสูงอีกด้วย ดังนั้น จึงต้องใช้การพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เริ่มจากการดูพิมพ์ทรง ต้องดูลักษณะการแกะให้ดี เพราะของเทียมลักษณะจะแลดูแข็งกร้าวและไม่เป็นเอกลักษณ์ จะไม่สัมผัสถึงความแข็งแกร่งและเข้มขลังเหมือนของแท้
ส่วน ด้านเนื้อหา ถ้าเป็น "เนื้อไม้" ให้นึกถึงสภาพไม้ที่ตากแห้งที่นำมาแกะ เมื่อผ่านกาลเวลาเนิ่นนาน เนื้อจะแห้งสนิท และมีน้ำหนักเบา ถ้าผ่านการสัมผัสจะฉ่ำมัน แต่ตามซอกยังคงแห้งอยู่
ส่วน "เนื้องา" ก็ให้ดูความเก่าของงาให้ดี จะออกเป็นสีเหลืองธรรมชาติ ถ้าผ่านการสัมผัสจะฉ่ำมัน สีดูใสและเข้มกว่าส่วนที่ไม่ผ่านการสัมผัส เวลาคนจะทำงาให้เก่าเขาจะเอาด่างทับทิมมาผสมน้ำแช่งาลงไปแล้วนำขึ้นมาขัดจะ ปรากฏคราบความเก่าขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นประสบการณ์อย่างหนึ่งที่ต้องพินิจพิจารณาให้ดีจึงจะได้ของแท้
ส่วนคาถากำกับหนุมานมีดังต่อไปนี้ "นะมัง เพลิง โมมัง ปากกระบอก ยะ มิให้ออก อุดธังโธอุด ธังอัด อะสังวิสุ โรปุสะพูพะ มะอะอุ โอมยะพุทธา ทะโยสตรี สตรี นิสังโห"