สถิติเว็บพระ |
เข้าดูแล้ว : 8846111 คน |
ร้านค้าทั้งหมด : 10 ร้าน |
สมาชิกทั้งหมด : 5588 คน |
พระเครื่องทั้งหมด :
247 องค์ |
กระดานประมูล :
141 กระดาน |
ทางลัดไป ศึกษา / วัตถุมงคล |
|
ทางลัดไป กระดานประมูล |
|
ทางลัดไป ซื้อขายพระเครื่อง |
ประวัติวัดบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส)
วัดบางขุนพรหม หรือวัดใหม่อมตรส สร้างขึ้นสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ประมาณ พ.ศ. ๒๓๒๑ โดยไม่ปรากฎนามผู้สร้าง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าโปรดให้สร้างถนนผ่านกลางวัด จึงกลายเป็น ๒ วัด คือวัดบางขุนพรหมนอก(วัดใหม่อมตรส) และวัดบางขุนพรหมใน(วัดอินทรวิหาร)
วัดบางขุนพรหม ตั้งอยู่เลขที่ ๑๓๒ ถนนสามเสน เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ ๗ ไร่ ๓ งาน ๔ ตารางวา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้ว เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๓๒๑ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร และได้ทำการผูกพันธสีมาใหม่ ระหว่างวันที่ ๔-๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๙ โดยในปี พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๑๓ ได้ทำการก่อสร้างปฎิสังขรณ์วัดใหม่เริ่มดำเนินการโดยสมเด็จพุฒาจารย์โต
เดิมทีนั้นวัดมีชื่อว่า วัดวรามะตาราม แต่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นวัดอำมาตยรส หรือวัดอมฤตยรส โดยพบหลักฐาน ใบตราตั้งเจ้าอาวาส ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม รศ.๑๒๐ ตรงกับปี พ.ศ.๒๔๔๔ ชื่อ พระอธิการเทศ เป็นสมภาร และ ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้เปลี่ยนนามเป็นครั้งใหม่อีกเป็นวัดใหม่อมตรส
การแยกวัด
วัดบางขุนพรหมในอดีตนั้นเป็นวัดที่มีอาณาเขตที่กว้างขวางมากวัดหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านกลับมาพักผ่อนเป็นที่สำราญอารมณ์อยู่นั้น ได้มีชาวบ้านในย่านบางขุนพรหมได้นำเอาที่ดินอันเป็นเรือกสวนไร่นามาถวายท่าน เจ้าประคุณสมเด็จฯ แล้วรวมเป็นที่ดินของวัดบางขุนพรหม และเพื่อให้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระหลวงพ่อโต เมื่อรวมที่ดินของวัดบางขุนพรหมแล้วมีอาณาเขตกว้างขวาง ทิศตะวันตกจดแม่น้ำเจ้าพระยา ทางทิศเหนือจดคลองเทเวศร์ ทิศตะวันออกถึงบ้านพานบ้านหล่อพระนคร ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๕ ทรงพิจารณาเห็นความจำเป็นในการถมนาเพื่อความเจริญของบ้านเมือง จึงทรงมีพระราชดำริให้ตัดถนนวิสุทธิ์กษัตริย์ผ่านกลางวัดบางขุนพรหม จึงทำให้วัดบางขุนพรหมต้องแยกออกเป็นสองวัด คือ วัดบางขุนพรหมใน หรือ วัดใหม่อมตรส ในปัจจุบัน และวัดบางขุนพรหมนอก คือวัดอินทรวิหาร อันเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโต (พระศรีอริยเมตไตรย) และเมื่อทางราชการได้ตัดถนนสามเสนก็ได้แบ่งที่ดินของวัดบางขุนพรหมออกไปอีกส่วนหนึ่ง
การบูรณปฏิสังขรณ์
วัดบางขุนพรหมเป็นวัดเก่าแก่มีมาแต่สมัยอยุธยาเป็นราชธานี และเป็นวัดที่สร้างอยู่บนที่ดอนห้อมล้อมไปด้วยเรือกสวนและไร่นา เข้าใจว่าเป็นวัดที่ประชาชนในละแวกนั้นช่วยกันสร้างและบูรณะสืบต่อๆ กันมา เมื่อปีจอ พุทธศักราช ๒๓๒๑ เจ้าอินทรวงศ์ราชโอรสในพระเจ้าธรรมเทววงศ์ ผู้ครองนครศรีสัตนาครหุตได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ในรัชสมัยพระเจ้า ตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ต่อมาครั้นสร้างกรุงเทพมหานครเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ทว่าวัดบางขุนพรหมไม่เคยได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เลยสักครั้งเดียว สิ่งก่อสร้างต่างๆ ได้ปรักหักพังลง สืบต่อมาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๕ เสมียนตราด้วง พร้อมกับชาวบ้านในย่านบางขุนพรหมและท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้ร่วมใจกันบริจาคจตุปัจจัยไทยธรรมจัดการสร้าง และซ่อมแซมวัดบางขุนพรหมขึ้นมาใหม่ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ นอกจากนั้นแล้วยังได้จัดสร้างพระมหาเจดีย์องค์ใหญ่ประดิษฐานไว้ที่หน้าวัดบางขุนพรหมเป็นพิเศษอีกด้วย
ทำเนียบเจ้าอาวาส
วัดบางขุนพรหมแห่งนี้มีเจ้าอาวาสดำรงตำแหน่งเท่าที่สืบทราบได้ คือ
๑.พระอธิการอ่อน
๒.พระอธิการอยู่
๓.พระอธิการเทศ
๔.พระอธิการแถม
๕.พระครูอมรคณาจารย์ (เส็ง)
๖.พระครูบริหารคุณวัตร (ชม สิรินธโร)
๗.พระครูพิพัฒนานุกูล (เทียม นนฺทโก) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
การสร้างพระสมเด็จบางขุนพรหม
หลังจากดำเนินการสร้างพระมหาเจดีย์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านเสมียนตราด้วงพร้อมกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้จัดสร้างพระพิมพ์เนื้อผงสีขาวอย่างพระสมเด็จวัดระฆัง ซึ่งมีจำนวนมากถึง ๘๔,๐๐๐ องค์ บรรจุไว้ในพระมหาเจดีย์เพื่อเป็นพุทธบูชาและการสืบพระศาสนาตามคดีโบราณนิยมอีกด้วย อนึ่งการสร้างพระสมเด็จบรรจุพระมหาเจดีย์ที่วัดบางขุนพรหมนั้นได้รับความ อนุเคราะห์จากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ โดยให้ใช้แม่พิมพ์สมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามของท่านที่เคยใช้ในการสร้างพระสม แด็จวัดระฆัง คือพระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ พระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ พระสมเด็จพิมพ์เกศบัวตูม พระสมเด็จพิมพ์ฐานแซม และปรากฏสมเด็จวัดระฆัง และสมเด็จวัดเกศไชโยปะปนอยู่ด้วย ซึ่งนอกจากพิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง ดังกล่าวแล้วนั้น ทางคณะท่านผู้สร้างพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมยังได้ให้นายช่างผู้แกะแม่พิมพ์ วัดระฆัง เจ้าเดิม แกะแม่พิมพ์พระสมเด็จทั้ง ๔ พิมพ์ ดังกล่าวแล้วเพิ่มเติมขึ้นมาอีก และยิ่งไปกว่านั้นยังให้แกะแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมขึ้นมาในรูปทรง ใหม่อีก ๗ พิมพ์คือ พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้าย พระสมเด็จพิมพ์สังฆาฏิ พระสมเด็จพิมพ์สังฆาฏิ พระสมเด็จพิมพ์ฐานคู่ พระสมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์ พระสมเด็จพิมพ์อกครุฑ และพระสมเด็จพิมพ์ไสยาสน์ รวมในกรุวัดบางขุนพรหมมีพระทั้งสิ้น ๑๑ พิมพ์ด้วยกัน และแต่ละพิมพ์ทรงยังมีแม่พิมพ์ที่แตกต่างกันออกไปอีกมาก อย่างเช่น พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้าย มีแม่พิมพ์ที่ต่างพิมพ์กันไปอีกหลายพิมพ์ ตัวอย่างเช่น พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายใหญ่ พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายแขนกลม พระสมเด็จพิมพ์เส้นด้ายแขนหักศอก เป็นต้น
อนึ่งการบรรจุพระสมเด็จไว้ในพระเจดีย์ที่วัดบางขุนพรหมนั้นเป็นงานบุญครั้งยิ่ง ใหญ่ซึ่งนานทีปีหนจึงจักมีสักครั้งหนึ่ง ในครั้งต่อมาการบรรจุพระพิมพ์ ๒๕ พุทธศตวรรษ ที่นับเป็นงานใหญ่และค่อนข้างจะเป็นทางการดังนั้น ชาวบ้านร้านตลาด ตลอดจนประชาชนทั้งไกลและใกล้ย่อมจักทราบกันเป็นอย่างดีและเป็นข่าวที่เล่าขานสืบต่อๆกันมาจนกระทั่งถึงสงครามโลกครั้งที่ ๑ ประเทศไทยได้ส่งทหารหาญไปร่วมรบ ในการนี้ได้ปรากฏมีประชาชนแอบเข้ามาใช้ดินเหนียวปั้นเป็นลูกกลมๆ แล้วหย่อนลงไปตามช่องลมพระเจดีย์เพื่อให้พระสมเด็จติดก้อนดินขึ้นมา ทีแรกก็ทำกันอย่างลับๆ ล่อๆ เพียงไม่กี่ตน ครั้นตกได้พระสมเด็จขึ้นมามีการเช่าซื้อปรากฏเป็นสนนราคาขึ้นมาแล้วเท่านั้นแหละ ก็เกิดการแห่กันมาเป็นการโกลาหล ครั้งแรกทางวัดมิได้ห้ามหวงแต่อย่างใด แต่พอนานๆ เข้าเห็นว่าจะไม่ได้การ จึงทำการโบกปิดช่องลมที่พระเจดีย์เสีย การตกเบ็ดพระสมเด็จกรุบางขุนพรหมจึงได้ยุติลง ซึ่งพระสมเด็จบางขุนพรหมซึ่งได้จากการตกในครั้งนั้น นิยมเรียกว่าพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่านั่นเอง
สถานที่ตั้ง
๑๓๒ ถนนสามเสน เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ติดต่อเรา | บริการจากเรา | สมาชิก | ||||||||||||||||||||||||||
|
|
สมัคสมาชิก | ||||||||||||||||||||||||||
ลืมรหัสผ่าน | ||||||||||||||||||||||||||||
วิธีชำระเงิน | ||||||||||||||||||||||||||||
แพ็คเก็จสมาชิก | ||||||||||||||||||||||||||||
สถิติเว็บพระ
|