ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
ชาตะ วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑ ตรงกับเดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีวอก
จ.ศ. ๑๑๕๐ เวลาพระบิณฑบาต ๐๖.๔๕ น. (ย่ำรุ่ง ๙ บาท ) มารดาชื่อ งุด (บางแห่งชื่อ เกศ)
บิดาไม่ปรากฏแน่ชัด (บางแห่งอ้างว่าเป็นราชวงศ์จักรี)
บวชเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี ณ วัดใหญ่เมืองพิจิตร ต่อมาย้ายมาศึกษาพระปริยัติ-
ธรรม ณ เมืองชัยนาท พออายุได้ ๑๘ ปี ก็ย้ายมาศึกษากับอาจารย์แก้ว วัดบางลำพู กรุงเทพฯ และ
ยังได้ศึกษาพระปริยัติธรรมกับเสมียนตราด้วง ขุนพรมเสนา ปลัดเสนา ปลัดกรมนุท เสมียนบุญ
และพระกระแสร์ ต่อมาได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอดิศรสุนทร พระบรม-
โอรสาธิราชให้ทรงโปรดมาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุ
บวชเป็นพระภิกษุ พอถึง พ.ศ. ๒๓๕๑ อายุ ๒๑ ปี สมเด็จเจ้าฟ้าพระบรมราชโอรสทรงรับ
ภาระบรรพชาเป็นนาคหลวง โดยให้ไปบวชที่วัดตะไกร จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งโยมแม่และญาติมี
ภูมิลำเนาอยู่ที่นั่น แล้วมาประจำอยู่กับพระสังฆราชวัดมหาธาตุต่อไป
เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ สวรรคตลง เจ้าฟ้าทูลกระหม่อม ซึ่ง บวชตลอดรัชกาลที่ ๓ ที่วัดบวรฯ ก็ลาสิขาบทขึ้นเสวยราชย์เป็นรัชกาลที่ ๔ แห่งราชวงศ์จักรี ก็ได้
ทรงมีพระบรมราชโองการให้เป็น “พระธรรมกิตติ” ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆัง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๕ ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสได้ไม่นาน พอถึง พ.ศ. ๒๓๙๗ ก็โปรดเกล้าฯ ให้เป็น “พระเทพกวี” ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๗ ก็โปรดเกล้าฯ ให้เป็น “สมเด็จพระพุฒาจารย์” ชาวบ้านทั่วๆ ไปเรียกกันว่า “สมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆัง” เรียกไปเรียกมา เหลือเพียง “สมเด็จโต” ในที่สุด ขณะที่โปรดเกล้าฯ เป็นสมเด็จนั้น มีอายุได้ ๗๘ ปี อายุพรรษาได้ ๕๖ พรรษาแล้ว
มรณภาพ สมเด็จโตจะอาพาธด้วยโรคอะไรไม่ปรากฏ มรณภาพเมื่อวันเสาร์ แรม ๒ ค่ำ
เดือน ๘ (ต้น) ปีวอก จ.ศ. ๑๒๓๔ ตรงกับวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๔๑๕ เวลาประมาณ ๒๔.๐๐ น. เศษ บนศาลาใหญ่วัดอินวรวิหาร บางขุนพรหม สิริรวมชนมายุของท่านได้ ๘๕ ปี ดำรงตำแหน่ง
เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ดำรงฐานันดรศักดิ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์โตมาได้ ๗ ปี เศษ ๖๕ พรรษา